วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

เพลง "ลืมเสียเถิดอย่าคิดถึง

 ...


เพลง "ลืมเสียเถิดอย่าคิดถึง" ขับร้องโดย รวงทอง ทองลั่นทม  คำร้อง แก้วอัจฉริยะกุล  ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน

          ครูเชิด ทรงศรี เขียนถึงเพลงนี้ในหนังสือ"คิดถึงครูแก้ว"ว่า

          ครูแก้ว อัจฉริยะกุล เคยรักกับผู้หญิงคนหนึ่งชื่อ"คุณน้อง" แต่ถูกผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงกีดกัน และจัดการให้ฝ่ายหญิงแต่งงานกับคนที่ผู้ใหญ่เลือกสรรให้ ครูแก้วไม่เคยลืมผู้หญิงคนนั้น จึงแต่งเพลง"คิดถึง"ขึ้นมา ขับร้องโดย ครูเอื้อ สุนทรสนาน เพลงนี้โด่งดังมาก

           ต่อมา ผู้หญิงคนนั้นได้โทรศัพท์มาหาครูแก้วบอกว่า ฟังเพลง"คิดถึง"ทีไรร้องไห้ทุกที ขอให้ครูแก้วลืมเธอเสียเถิด ข้อความนี้ทำให้ครูแก้วเกิดแรงบันดาลใจ แต่งเพลง"ลืมเสียเถิดอย่าคิดถึง"ขึ้นมา ด้วยคำร้องที่ลึกซึ้งกินใจยิ่งนัก "บุญเราสองครองกันแต่เพียงใจ จะมั่นหมายปองกาย ไม่ได้เลย"

           คุณรวงทอง ทองลั่นทม ขับร้องเพลงนี้ในช่วงที่เสียงกำลังพีคสุดขีด ถ่ายทอดใส่อารมณ์อย่างเต็มที่ ทำให้บทเพลงนี้ไพเราะและได้อารมณ์เศร้าอย่างยิ่ง

           เพจ "พร่างเพชรในเกร็ดเพลง" ขอบคุณข้อมูลจากเชิด ทรงศรี และขอบคุณ เสียงเพลงจาก YouTube และ Sanit channels

 

https://youtu.be/gkYLDA37KxE


วันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2564

เพลงเพื่ออนุรักษ์ และเพื่อครูชาลีและครูสุรพล

 ...

เพลงเพื่อการอนุรักษ์   ....

... ประวัติเพลง “สาวนครชัยศรี” จากชรินทร์ นันทนาคร

ฯ เพลงอีกเพลงหนึ่งที่ผมทราบดีว่า ชาลี  อินทรวิจิตร ยังคงเหลืออยู่เพลงซึ่งนับวันที่เขาจะแน่นแฟ้น เป็นเพลงที่เขาแต่งให้ผมร้อง เพื่อผู้หญิงคนหนึ่ง ซึ่งเป็นสุดที่รักของ ชาลี อินทรวิจิตร  วันที่เขาแต่งเพลงนี้ เขาไปยืนอยู่ในห้องบันทึกเสียงกับผม เขาบอกว่าเพลงนี้เป็นเพลงที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเรา  นายช่วยถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกทั้งหมด ที่อยู่ในเพลงนี้  ให้เป็นของขวัญแก่คนๆหนึ่งที่เขารักที่สุดในชีวิต  โดยเฉพาะสองบรรทัดสุดท้าย นายต้องร้องให้ดีที่สุด.. ผมมีความตั้งใจอย่างเหลือเกินที่จะร้องเพลงนี้ให้ดีที่สุดในความรู้สึกของชาลี อินทรวิจิตร เขาได้ให้กับผมมามากเหลือเกิน เพลง ท่าฉลอมและเพลงหยาดเพชร และผมจะต้องร้องเพลงๆหนึ่ง  เพื่อชาลี  อินทรวิจิตร ในการบันทึกเสียง  ครั้งแรกจำได้ว่าในห้องบันทึกเสียงกมล สุโกศล ในปีพุทธศักราช 2507  โดยประมาณ  คนที่เขารัก อยู่ในเมือง ส้มโอหวาน ข้าวสารขาว ลูกสาวสวย นครชัยศรี  ผมอยากให้ชาลิ อินทรวิจิตร มายืนอยู่ใกล้ๆผม เหมือนกับครั้งหนึ่งเขายืนคุมผมร้องเพลง เขาจะหันหน้ามาหาผม และเขาจะร้องตามไปด้วยในใจ เพื่อจะถ่ายทอดให้ผมร้องเพลงนี้ให้ดีที่สุด เพลงนั้นก็คือ  สาวนครชัยศรี ที่เกิดของผู้หญิงคนหนึ่ง และผู้หญิงคนนั้นก็ยังคงยั่งยืนอยู่ในหัวใจของ ชาลี อินทรวิจิตรเสมอมา สาวนครชัยศรีครับ

เพลงเพื่อการอนุรักษ์   “สาวนครชัยศรี”

https://bit.ly/3lRb6qF

เพลงเพื่อการอนุรักษ์   “หยาดเพชร”
https://bit.ly/31nk2ux

เพลงเพื่อการอนุรักษ์   ดวงเดือนชรินทร์-รวงทอง

https://bit.ly/3dzi5AF

เพลงเพื่อการอนุรักษ์   สาวน้อยชรินทร์
https://bit.ly/3fcxGc0

เพลงเพื่อการอนุรักษ์   ทุยจ๋าทุย ชรินทร์-รวงทอง

https://bit.ly/3lTMygL

สาวมหาชัย รวงทอง ทองลั่นทม

https://bit.ly/3sspgko

ช่างร้ายเหลือ วงจันทร์

https://bit.ly/2Psc2FN

เรือนแพ ชาลีอินทรวิจิตร 97 ปี

https://bit.ly/2NS5TSQ

หนึ่ง จักรวาล งานคอนเสริตเพื่อชาลี

https://bit.ly/39hBwwz

ผิงผิง รักเธอเสมอ งานคอนเสริตเพื่อชาลี

https://bit.ly/3tSRLbq

ผิงผิง-แก้ม ไม่อยากให้โลกนี้มีความรัก งานคอนเสริตเพื่อชาลี

https://bit.ly/2PyrdNy

บ้านทรายทอง อลิช งานคอนเสริตเพื่อชาลี

https://bit.ly/3w1aq6H

เศรษฐา เพื่อครูชาลี สุรพล ครูชาลี ร้องเพลงครวญ

https://bit.ly/3fguoEw

วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2562

รักบังใบ : รวงทอง ทองลั่นทม

...




รวงทอง ทองลั่นธม เดิมชื่อ ก้อนทอง ทองลั่นธม เกิดเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม2480 ที่ตำบลบ้านโพ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อายุ 2 ปี มารดาเสียชีวิตจึงไปอยู่กับยายจนถึง พ.ศ. 2484     เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 และ พ.ศ. 2485 เกิดน้ำท่วมกรุงเทพฯ อย่างหนัก  ยายจึงอพยพไปอยู่ที่อยุธยาแล้วย้ายกลับมาที่กรุงเทพฯ อีกครั้ง เข้าเรียนที่โรงเรียนนันทนศึกษา จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แล้วไปเรียนต่อที่โรงเรียนขัตติยาณีผดุง และเพราะทราบดีว่าฐานะทางบ้านยากจน จึงตั้งใจเรียนจนสอบได้ที่หนึ่งและเป็นหัวหน้าชั้นด้วย ระหว่างที่เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พ่อทำงานไม่ไหวเพราะสุขภาพไม่ดี จึงต้องลาออกจากโรงเรียนเมื่ออายุเพียง 17 ปีเท่านั้น

รวงทองเล่าถึงชีวิตตอนนี้ว่า เด็กผู้หญิงจากอยุธยาคนหนึ่งกำพร้าแม่ตั้งแต่อายุ 2 ขวบ พ่อกับยายเลี้ยงดูจนโต มีความรักความมุ่งมั่นอยากจะร้องเพลง ที่ได้ยินจากวิทยุ จึงไปสมัครเป็นนักร้องกับครูเอื้อ ซึ่งท่านก็มีเมตตารับไว้ ทั้งๆที่อายุแค่ 17 ปี ยังรับราชการหรือเป็นลูกจ้างของกรมโฆษณาการ (กรมประชาสัมพันธ์) ไม่ได้ด้วยซ้ำ  ไม่มีเงินเดือน ไม่มีเบี้ยเลี้ยงใดๆทั้งสิ้น มีแต่โอกาสที่ได้เข้าร่วมการฝึกเรียนวิธีขับร้อง และฝึกซ้อมร่วมกับนักร้องของสุนทราภรณ์ โดยมีครูเอื้อเป็นผู้ฝึกสอนด้วยตนเอง สีไวโอลิน หรือเคาะเปียโนให้รวงทองซ้อมร้องเพลงด้วยตัวท่านเอง

เมื่อได้เวลาพอสมควร ครูเอื้อก็ขอให้ครูเพลงดังๆยุคโน้น ช่วยแต่งเนื้อให้ ครูชอุ่ม ปัญจพรรค์ คิดแต่งเพลงแรกให้คุณรวงทอง จากทำนองเพลงไทยเดิม บังใบ  คิดหาวรรคพิเศษให้คนฟังเกิดความซาบซึ้งใจ จนเห็นตะวันตกดิน เกิดความเศร้า พลันคำว่า"น้ำตาตกตามตะวัน"ก็แว่บขึ้นมาทันที รู้สึกพอใจกับวรรคนี้มาก  ครูเอื้อเป็นผู้ใส่ทำนอง ทำให้รวงทอง ทองลั่นทม ได้เกิดเต็มตัวด้วยเพลง รักบังใบเมื่อ พ.ศ.2499  ครูชอุ่มเป็นผู้ตั้งชื่อนักร้องให้ว่า "รวงทอง ทองลั่นทม จากนั้นก็มาดังทั่วประเทศด้วยเพลง ยังจำได้ไหมและเพลง ขวัญใจเจ้าทุยโดยเฉพาะเพลงหลังฮิตทั้งประเทศจริงๆ ร้องกันตั้งแต่เมืองหลวงของประเทศไทย ไปจนถึงท้องทุ่งท้องนาทุกๆจังหวัด   รัตนะ ยาวะประภาษ ตั้งฉายาว่า นักร้องเสียงน้ำเซาะหิน

ครูเอื้อ สุนทรสนาน เขียนถึง รวงทอง ทองลั่นธมว่า   รวงทองเป็นศิษย์คนหนึ่งของผม ในจำนวนหลาย ๆ คนที่ผมภาคภูมิใจ เราได้ร่วมงานเพลงกันมาสมัยหนึ่ง เธอเป็นผู้ที่ได้รับผลสำเร็จจากการร้องเพลงอย่างดียิ่ง ในแบบฉบับของตนเอง ตลอดเวลาที่อยู่ในความดูแลของผลตั้งแต่อายุ 17 ปีได้เริ่มต้นฝึกฝนร้องเพลงกับวงดนตรีสุนทราภรณ์เพียง 2 ปี ก็ได้ร้องเพลงแรกชื่อ รักบังใบจากคำร้องของครูชอุ่ม ปัญจพรรค์ ร้องส่งวิทยุกระจายเสียง เมื่อสิ้นเสียงของเธอ บรรดาแฟนเพลงถึงกับวิ่งเกรียวกราวมาขอดูตัวนักร้อง ตลอดจนผู้ใหญ่ และผู้อุปการะวงดนตรีได้ให้ความสนใจโทรมาไต่ถาม และขอฟังเพลงนี้อีกครั้งในรายการเดียวกัน

ปี 2497 สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เชิญวงดนตรีสุนทราภรณ์ไปบรรเลงที่ห้องประชุมของมหาวิทยาลัย พอดนตรีแสดงไปสักครึ่งรายการ ครูเอื้อได้ประกาศแนะนำเด็กนักร้องหน้าใหม่ที่ไม่เคยแสดงที่ไหนมาก่อน ชื่อรวงทอง ทองลั่นทม จะมาร้องเพลง"รักบังใบ" พอเด็กที่ชื่อรวงทองเดินออกมา นักศึกษาก็โห่กันใหญ่ เพราะรวงทองวันนั้นใบหน้ากลมนิดเดียวแต่ทำผมฟูใหญ่มาก ผิวก็ค่อนข้างดำ เสื้อผ้าก็เชย เสียงโห่ยังดังอยู่แม้ดนตรีขึ้นอินโทรแล้ว แต่พอรวงทองเริ่มร้อง"กามเทพหลอกลวง เสียบศรปักทรวง ให้ห่วงหา..." เท่านั้นแหละ เสียงโห่ค่อยลดลงและหายเงียบไปอย่างรวดเร็ว เสียงคุณรวงทองสะกดนักศึกษาให้ทึ่งในน้ำเสียงและลีลาการร้อง พอร้องจบเท่านั้น เสียงปรบมือดังกึกก้องหอประชุมและยาวนานกว่านักร้องท่านอื่นในวันนั้น

ชอุ่ม ปัญจพรรค์ เขียนถึงรวงทองว่า... เมื่อ อาเอื้อ รับเธอไว้เป็น ดาวรุ่ง นั้นก็ได้ฝึกฝนให้ร้องเพลงตามแนวเสียงหวาน ได้ร่วมร้องเพลงหมู่เป็นการฝึกหัดไปในตัว เพราะความที่เป็นเด็กที่มีความมั่นใจในตัวเองมาก แต่งตัวตามใจตน จึงเกิดมีคนให้สมญานามว่า ลูกเป็ดขี้เหร่อีกชื่อหนึ่ง สาเหตุเพราะว่าสูงโปร่ง พอนุ่งกระโปรงสุ่มไก่ ใส่รองเท้าส้นสูง เวลาเดินแลดูคล้ายลูกเป็ด ส่วนคำว่า ขี้เหร่นั่นเรียกด้วยความเอ็นดู  ครั้งหนึ่งที่วงดนตรี สุนทราภรณ์ จะออกแสดงที่โรงภาพยนตร์ เฉลิมกรุง ซึ่งขณะนั้นเป็นโรงหนังชั้นหนึ่ง อาเอื้อ ให้พี่แต่งเพลง บังใบให้ ไอ้ก้อน ร้อง....ด้วยเหตุที่เพลงเดิมชื่อ บังใบ จึงเสริมคำว่า รัก ไปอีกคำ รักบังใบจึงสมบูรณ์ เมื่อบรรเลงที่โรงหนังเฉลิมกรุง ก้อนทองจึงเปลี่ยนเป็น รวงทองดังเป็นพลุแตก เพราะ รวงทอง มีพรสวรรค์ในการร้องเพลงด้วยน้ำเสียงเพราะ คำร้องเพราะ คำร้องชัด ร้องเพลงทำนองเพลงไทยเดิมแท้ๆ ยังดังขนาดนั้น เพราะฉะนั้นจึงทำให้ พี่อุ่ม ได้ชื่อไปด้วย ขอบใจมากนะน้องรัก ขอบใจจริงๆ และขอบใจมากที่ยกย่อง พี่อุ่ม    น้องเป็นเด็กกตัญญูดีมาก พี่ว่าเพราะคุณธรรมนี่แหละที่บันดาลให้ รวงทอง ทองลั่นธมดังตลอดกาล

รวงทอง ทองลั่นธม ได้รับรางวัลใบโพธิ์ทองพระราชทาน จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2514 (ในฐานะนักร้องผู้เผยแพร่ภาษาไทยได้ชัดเจนถูกต้อง ), รางวัลแผ่นเสียงทองพระราชทาน จากเพลง วนาสวาท, รักเธอเสมอ ในปี พ.ศ. 2508 และได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักร้องเพลงไทยสากล) ประจำปี พ.ศ. 2539

(ขออนุญาตเก็บมาจากไลน์)
เพลงรักบังใบ 
https://bit.ly/35YTjWi

วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

มาน ฮามาเท (Maan Hamadeh)

....

 https://youtu.be/vUxvoieB0fA

วันที่ 7 สิงหาคม 2014  ชายคนหนึ่งอัพโหลดวิดีโอที่เขาถ่ายจากกล้องโทรศัพท์มือถือขึ้นไปบนยูทูบ  โดยที่ไม่คิดเลยว่าวิดีโอนั้นจะ go viral อย่างรวดเร็วภายใน 4 วันยอดวิวพุ่งขึ้นสูงถึง 1.3 ล้านคน

เป็นวิดีโอของชายหนุ่มนักท่องเที่ยวชาวเลบานอนวัย 26 ปี นั่งบรรเลงเปียโนอยู่ที่เกท D1 ณ สนามบินกรุงปราก  สาธารณรัฐเชค ระหว่างรอต่อเครื่องบินไปยังกรุงอัมสเตอร์ดัมครับ

เพลงที่เขาบรรเลงคือ Fur Elise ของบีโธเฟนและเมดเล่ย์ต่อกับเพลง My Heart Will Go On ของเซลีน ดิออน  ความพิเศษคือ  เขารีมิกซ์แต่ละเพลงใหม่ให้ออกมาหลากหลายแนว  ซึ่งล้วนแต่ไพเราะเพราะพริ้งระดับที่ควรจะไปเล่นอยู่ในคอนเสิร์ตใหญ่แกรนด์เปียโนได้เลย

แค่เฉพาะเพลง Fur Elise นั้น  เขาบรรเลงออกมา 4 สไตล์แบบเมดเล่ย์  ไพเราะมากๆ

บรรดาผู้โดยสารผู้โชคดีที่ได้นั่งฟังอยู่ตรงนั้นปรบมือเสียงกราวใหญ่หลังจากที่นั่งเพลิดเพลินไปกับเสียงเปียโนตลอดเกือบ 6 นาที

นักเปียโนหนุ่มเลบานอนคนนี้ชื่อ มาน ฮามาเทครับ  ขณะนั้นเขาทำงานเป็นที่ปรึกษาด้านคอมพิวเตอร์ให้กับบริษัท ดีลอยท์ ในดูไบ

ในวันนั้นเป็นวันที่เขากับเพื่อนซี้ (ซึ่งก็คือคนถ่ายวิดีโอนั่นแหละ) จบทริปเที่ยวยุโรป 12 วันพอดี  และระหว่างที่กำลังรอต่อเครื่องกลับบ้าน  นายฮามาเทผู้นี้ก็สังเกตเห็นเปียโนตั้งเด่นอยู่ที่เกท  เป็นเปียโนสาธารณะที่สนามบินเขาเอามาวางไว้ให้คนมาเล่นฟรีๆ

ด้วยความที่เล่นเปียโนเป็นงานอดิเรก  เขาจึงพุ่งเข้าไปเล่นเปียโนทันทีเพราะไม่ได้แตะเครื่องดนตรีที่เขารักมาหลายวัน  ผลของการเดี่ยวเปียโน 5 นาทีครึ่งนั้นก็คือชีวิตของฮามาเทเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง

____________________________________________

ด้วยอานุภาพแห่งโซเชียลมีเดียและยูทูบ  ชื่อของ มาน ฮามาเทเป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็ว  หนังสือพิมพ์เดลี่เทเลกราฟและอีกหลายฉบับของอังกฤษนำเรื่องของเขาไปตีพิมพ์แพร่หลาย

ไม่นานนักก็มีโทรทัศน์มาเชิญไปออกทอล์คโชว์  นิตยสารมาขอสัมภาษณ์  แฟนคลับมีทั้งออนไลน์และตัวเป็นๆมากมายมาติดตามฟอลโล่ว์เขา  กระทั่งได้รับเชิญให้ไปเป็นแขกรับเชิญในคอนเสิร์ตที่จัดในบ้านเกิดของเขาที่เมืองเบรุต ประเทศเลบานอน

ซึ่งเมื่อเขาเดินทางไปถึงเบรุตนั้น  มีเซอร์ไพรส์จากครอบครัวและแฟนคลับที่มาต้อนรับเขาอย่างล้นหลาม

ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นภายในเวลาแค่ 1 เดือนหลังจากที่วิดีโอนั้นโพสท์ไปบนยูทูบ

ฮามาเทนั้นเขาเริ่มหัดเล่นคีย์บอร์ดมาตั้งแต่อายุเพียง 10 ขวบครับ  เขาเล่นดนตรีเป็นงานอดิเรกในขณะที่เรียนปริญญาตรีด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์อยู่ที่กรุงเบรุต  แต่เขาก็ไม่ทิ้งดนตรี  ยังคงรวมวงเล่นกับเพื่อนอยู่เรื่อยๆ  จนกระทั่งย้ายมาทำงานอยู่ที่ดูไบจึงห่างหายไปบ้าง

ความแตกต่างระหว่างฮามาเทกับนักเปียโนทั่วไปก็คือ  เขาสามารถบรรเลงเพลงชื่อดังทั้งหลายในรสชาติและท่วงทำนองแปลกๆที่เขามิกซ์ขึ้นมาใหม่   และไปหยิบเอาเพลงเพราะๆของอาหรับมาผสมผสานกับดนตรีตะวันตก  กลายเป็นดนตรีที่ฟังไพเราะไปอีกแบบ

ถึงวันนี้เขาออกอัลบั้มและซิงเกิ้ลเพลงบรรเลงเปียโนมาแล้วกว่า 10 อัลบั้ม  อัลบั้มที่เป็นยอดนิยมคือ “In Different Taste” ทั้ง 5 อัลบั้ม  เป็นเพลงดังๆที่เขาบรรเลงในรสชาติใหม่ๆทั้งสิ้น

สองปีหลังจากเล่นเปียโนที่สนามบินปราก   ฮามาเทได้รับรางวัล Arouwad Award 2016 ในฐานะนักดนตรีเลบานอนที่นำดนตรีมาเชื่อมวัฒนธรรมต่างๆเข้าด้วยกันได้อย่างยอดเยี่ยม

ทุกวันนี้เขาเป็นนักดนตรีอาชีพเต็มตัว  และใช้ความรู้ด้านไอทีของเขาสร้างชื่อเสียงให้ตนเองโดยอัพโหลดวิดีโอบรรเลงเปียโนร่วมกับวงดนตรีเล็กๆของเขากับเพื่อนขึ้นบนยูทูบเป็นประจำ  รักษากลุ่มแฟนคลับไว้ได้เหนียวแน่นหลายแสนคนเชียวนา

ฉายาที่ผู้คนตั้งให้เขาก็คือ Piano Maan ล้อกับคำว่า Piano man นั้นเอง

ใครสนใจวิดีโอที่สนามบินปราก  พิมพ์คำว่า Haan Hamadeh เข้าไปในยูทูบก็พบแล้วครับ  ช่วงที่ผมชอบสุดคือนาทีที่ 2:30 เป็นจังหวะที่เขาเริ่มบรรเลงเพลง My heart will go on ในแบบของเขา
__________________________________________________

ฮามาเทนั้นเป็นคนที่มีฝีมือเปียโนเยี่ยมเป็นทุนมาอยู่แล้ว  แต่ยังไม่พบกับโอกาสดีๆเพราะชีวิตยุ่งกับงานประจำมาตลอด   จนกระทั่งเพื่อนมาอัพโหลดวิดีโอขึ้นไปบนยูทูบ  ก็เลยโด่งดังลอยลมไปโดยปริยาย

ในความรู้สึกของผมนั้น  ฮามาเทคือตัวอย่างที่ดีของประโยคที่บอกว่า  ความโชคดี คือ การเตรียมพร้อมมาพบกับโอกาส” (Luck = Preparation + Opportunity)


และนี่คือการใช้โซเชียลมีเดียอย่างสร้างสรรค์ครับ  ใครที่มีความสามารถอะไรดีๆ  สมัยนี้ไม่ต้องวิ่งหาแมวมองแล้วครับ  เวทีอินเทอร์เน็ทอยู่ในมือเราแล้ว  ขอเพียงแค่เราเก่งจริงแค่นั้น
ยังมีคลิบสนามบินอีกหลายคลิป

part 1
https://bit.ly/323gYTz
part 2
https://bit.ly/2NtVGuP
part 3
https://bit.ly/323gYTz
part 4
https://bit.ly/2XMsCCN
part 5
https://bit.ly/2J5ma1y

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2561

Andrea Bocelli

...


Besame Mucho
https://bit.ly/2DlaYNR
ขับร้องโดย  Andrea Bocelli

Andrea Bocelli นักร้อง นักแต่งเพลง และผู้อำนวยการบันทึกเสียงชาวอิตาลี  เซลีน ดิออนนักร้องชาวแคนาดาระดับสากลกล่าวถึงเขาว่า ถ้าพระเป็นเจ้ามีเสียงการขับร้อง พระองค์จะต้อง ทรงมีพระสุรเสียงคล้ายอย่างยิ่งกับอันเดรยา โบเชลลีขณะที่เดวิด ฟอสเตอร์ผู้อำนวยการบันทึกเสียงชาวแคนาดามักพรรณนาถึงเสียงของโบเชลลีว่าเป็นเสียงไพเราะที่สุดในโลก
โบเชลลีเกิดมาพร้อมกับความบกพร่องทางสายตา และตาบอดสนิทตอน ๑๒ ขวบอันเนื่องมาแต่อุบัติเหตุจากการเล่นฟุตบอล
โบเชลลีบันทึกอัลบั้มแล้ว ๑๕ ชุดทั้งดนตรีพ็อพและคลาสสิก เป็นอัลบั้มได้รับความนิยมสูงสุด ๓ ชุด อุปรากร/โอเปร่าสมบูรณ์แบบ ๙ ชุด และมียอดจำหน่ายทั่วโลกกว่า ๘๐ ล้านแผ่น

The Prayer ที่โบเชชลีร้องคู่กับเซลีน ดิออนเพื่อประกอบภาพยนตร์การ์ตูน Quest for Camelot (๑๙๙๘) ได้รับรางวัลลูกโลกทองคำสำหรับเพลงต้นฉบับยอดเยี่ยม อันเป็นส่วนหนึ่งของเกียรติประวัติของเขา
มาฟังเพลงจากเสียงที่มีผู้คนส่วนหนึ่งยอมรับว่าไพเราะที่สุดในโลกนั้นเป็นฉันใด


ฟัง  Besame Mucho เพราะ จากเครื่องดนตรีต่างๆ



Kenny G - Besame mucho

แซกโซโฟน 1

แซกโซโฟน 2

ทรัมเปต 1

https://bit.ly/2sb4TeL
ทรัมเปต 2

harmonica